
ทุกครั้งที่มีโอกาสได้ออกไปพบกับลูกค้า ผมตื่นเต้นเสมอที่จะได้นำสิ่งดีๆไปบอกเล่า และไปช่วยแก้ปัญหาในการใช้งาน ระบบลม อัด ก็ไม่รู้เหมือนกันนะครับ ว่าความรู้สึกแบบนี้มันเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ทุกครั้งที่ได้เข้าไปพบลูกค้าและได้ช่วยแก้ไขปัญหา ต่างๆ มันรู้สึกว่าเราได้ช่วยเหลือคน มันรู้สึกมีความสุข มันคงจะเป็นตั้งแต่ผมจำแนก ปัญหา ของลูกค้าออกได้เป็นสองแบบ คือ ปัญหา ที่ทางลูกค้ารู้แล้ว และ ปัญหา ที่บางทีลูกค้าไม่ทราบ หรืออาจจะมองข้ามไป
อย่างที่ผมคุยค้างไว้ตั้งแต่บทความที่แล้วว่า ถ้าระบบเราถูกออกแบบให้ถูกต้อง (กลับไปอ่านบทความที่แล้วนะครับ) เราก็ไม่ต้องมานั่งปวดหัวกับระบบลม อัดอีก อย่างหลายปีก่อน ผมมีโอกาสได้เป็นวิทยากรในงานสัมมนาเกี่ยวกับ ระบบลม อัด ของบริษัท ผมเคยถามในห้องสัมมนาว่า “โรงงานไหน ระบบลม สมบูรณ์แล้วบ้างครับ” มีพี่ลูกค้าท่านหนึ่งยกมือด้วยความมั่นใจ ส่วนท่านอื่นๆก็ลังเล บ้างก็ไม่ยก บ้างก็ยกแบบไม่ค่อยมั่นใจ พอหันหน้าไปเจอพี่ลูกค้าท่านนั้น พี่เขาก็ยิ้ม ผมก็จำได้แม่นเลย เพราะลูกค้าท่านนี้ผมเป็นคนไปวาง ระบบลม อัด ให้เอง ก่อนหน้านั้นพี่เขาค่อนข้างเครียด เพราะระบบลม มี ปัญหา มันทุกอย่างแหละ ไอ้ที่สามารถจะมี ปัญหา ได้ ลมตก น้ำหลุด ไม่มีเครื่องสำรอง เดินเครื่องก็ไม่ประหยัดไฟ พอเราได้นั่งคุยกัน และเห็นตรงกันว่า ปัญหา มันอยู่ตรงไหน และเราจะแก้อย่างไร เราก็ทำงานร่วมกัน ตั้งแต่ทำนำเสนอของบประมาณ จนจบงาน ปัจจุบันพี่เขาบอก โคตรสบายเลยกับ ระบบลม อย่างที่ผมบอก ปัญหาที่ลูกค้ารู้ก็อย่างเช่น ลมตก น้ำหลุด น้ำมันหลุด ส่วน ปัญหา ที่อาจจะไม่รู้หรือมองข้ามก็อย่าง ทำอย่างไงที่จะประหยัดไฟที่สุด และระบบที่เรามีมันประหยัดที่สุดหรือยัง และอีกอย่างก็เรื่องเครื่องสำรอง ซึ่งถ้าเราตระหนักว่า Down Time คือโอกาสในการผลิตที่เสียไปแล้ว เอากลับคืนไม่ได้ นั่นแหละ เราควรจะมีมัน บางครั้งปัญหามันก็มาในรูปของการเสียโอกาสในการประหยัด เช่น การใช้ปั๊มลมเก่าๆ ที่เมื่อเทียบกับเครื่องรุ่นใหม่ที่ประหยัดกว่า และเคยมีครั้งหนึ่งได้มีโอกาสคุยกับลูกค้าท่านหนึ่ง พี่เขาดูแลเครื่องปั๊มลมได้ดีมาก เครื่องเขาใช้งานมาร่วม 30 ปี แต่สภาพยังดีมาก เขาบอกผมว่า “เป็นไง ถ้าดูแลดีมันก็ใช้ได้ยาวๆเครื่องปั๊มลมอ่ะ” ผมก็บอกบอกว่า เห็นด้วยและก็ชมพี่เขาด้วยว่า พี่เจ๋งอ่ะ อันนี้ผมชมจากใจเลย เพราะเขาดูแลดีจริงๆ และเราก็นั่งคุยกันต่อว่า มันมีโอกาสประหยัดได้นะ แค่พี่เปลี่ยนเครื่อง เขาก็งงๆ ผมก็อธิบายต่อ เครื่องพี่เขาขนาด 90 kW ถ้าเทียบรุ่นปัจจุบันกับเครื่องที่เขาใช้อยู่ เครื่องใหม่ทำ Flow ได้มากกว่า ประมาณ 15 % นั้น แสดงว่า ถ้าเปลี่ยนเครื่องจะประหยัดไฟ ปีละกว่า 4 แสนบาท เราก็นั่งคุยกันต่อในเรื่องอื่นๆ ก่อนกลับ แกก็บอกผมว่า “เสนอราคาเครื่องมาให้ด้วยนะ ปีหน้าพี่เปลี่ยนเครื่องละ”